top of page
รูปภาพนักเขียนPOSH INTERIOR

บิ้วอิน วัสดุโครงไม้ที่นิยมใช้

อัปเดตเมื่อ 24 ก.พ.

วัสดุโครงในงานเฟอร์นิเจอร์บิ้วอิน (Built in furniture) บิ้วอิน บิ้วอินบ้าน บิ้วอินคอนโด ตกแต่งบ้าน ตกแต่งภายใน ปัจจุบันมีวัสดุที่นิยมเลือกใช้งานกันหลากหลาย การเลือกวัสดุอาจขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน หรือพื้นที่ เช่น เคาน์เตอร์ครัวที่ต้องทนต่อความชื้นและมีความแข็งแรงมั่นคง ผนังตกแต่ง ตู้ต่างๆ เป็นต้น รวมถึงความชอบของเจ้าของงานหรืองบประมาณในงานตกแต่ง ประกอบกับคุณสมบัติของวัสดุในแต่ละประเภทเพื่อเป็นแนวทางให้เราสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานบิ้วอินได้ เรามาดูไม้ในงานบิ้วอินแต่ละชนิดว่ามีอะไรบ้าง



บิ้วอิน วัสดุที่นิยมใช้
บิ้วอิน วัสดุที่นิยมใช้



ไม้ PARTICLE BOARD ใช้สำหรับบิ้วอิน
ไม้ PARTICLE BOARD

1.  ไม้ Particle Board

พาร์ติเกิ้ลบอร์ด เป็นไม้ที่ทำมาจากเศษไม้และขี้เลื่อย นำมาประสานกันโดยการนำมาอัดด้วยความดันสูง “พาร์ติเกิลบอร์ด” จะใช้ไม้ยางพารา ไม้ยูคาลิปตัส เศษไม้ สับเป็นชิ้นเล็กๆ ผสมกับกาวและนำไปอัดขึ้นรูปเป็นแผ่นไม้ เนื้อไม้จะเหนียวแต่ไม่แน่น ความเหนียวเกิดจากเส้นใยที่ประสานกันเนื้อไม้ฟูหยาบไม่แน่น ในเนื้อไม้จะมีโพรงอากาศเล็กๆ ทำให้ไม้เบากว่าไม้จริง มักนิยมเอาไปทำเฟอร์นิเจอร์ หรือโครงบิ้วอิน (Built in furniture)  แต่จะไม่เหมาะกับงานพ่นสีเหมาะกับการปิดผิวด้วยวัสดุปิดผิวสำหรับงานเฟอร์นิเจอร์

คุณสมบัติ

ปาร์ติเกิ้ลบอร์ด เป็นไม้ที่มีน้ำหนักเบาซึ่งมีความแข็งแรง แต่น้อยกว่าวัสดุชนิดอื่นๆ ราคาไม่สูงเหมาะกับงานที่ต้องการควบคุมงบประมาณ เนื้อไม้มีการขยายตัวได้ง่ายหากโดนความชื้น ปาร์ติเกิ้ลบอร์ดมักนิยมนำมาใช้ในงานไม้ที่ใช้ภายในอาคาร ไม่เหมาะกับงานที่มีความชื้นสูง


ข้อดี

ราคาถูกเหมาะกับงานที่ต้องการควบคุมงบประมาณ สามารถปิดผิวได้ มีเนื้อไม้ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันทั้งชิ้นและมีน้ำหนักเบา


ข้อเสีย

ตัวเนื้อไม้มีการขยายตัวได้ง่ายหากโดนความชื้น ไม่ทนต่อความชื้น ต่อปลวก แมลงกินไม้ อายุการใช้งานสั้น เนื้อไม้ไม่แน่นทำให้การขันสกรูมักมีปัญหาสกรูหลวมคลายตัวบ่อยๆ เช่นในการติดตั้งบานพับหรืออุปกรณ์เฟอร์นิเจอร์ มีข้อด้อยในเรื่องของความแข็งแรง อายุการใช้งานสั้นกว่าไม้อัดมาก





ไม้ MDF ใช้ในงานบิ้วอิน
ไม้ MDF

2.  ไม้ MDF

MDF เป็นแผ่นไม้ที่นำเศษขี้เลื่อยของไม้ยางพารามา ไม้ยูคาลิปตัส มาบดอัดด้วยเครื่องบดอัดไม้ที่มีแรงอัดสูง พร้อมกับความร้อนนำมาผสมกับกาวสังเคราะห์ แล้วจึงอัดเป็นแผ่น จึงเกิดความยึดเหนี่ยวระหว่างเส้นใยจนเป็นเนื้อเดียวกันโดยมีกาวเป็น ตัวช่วยประสาน และมีความหนาแน่นสูงกว่า ปาร์ติเกิ้ลบอร์ด มีผิวเนื้อในละเอียดเป็นเนื้อเดียวกันตลอดทั่วทั้งแผ่น มีความเรียบสม่ำเสมอตลอดทั้งแผ่น MDF สามารถนำมาพ่นสีได้เรียบเนียนและสวยงาม

คุณสมบัติ

มีผิวเนื้อในละเอียดเป็นเนื้อเดียวกันตลอดทั่วทั้งแผ่น มีความหนาแน่น และความเรียบสม่ำเสมอตลอดทั้งแผ่น สามารถขูดแต่งเนื้อไม้ได้เรียบเนียน งานที่ออกมาจึงดูเรียบร้อยไม่เป็นขุย สามารถนำมาพ่นสีได้เรียบเนียนและสวยงาม และทนน้ำได้ดีกว่าไม้ปาร์ติเกิ้ล

ข้อดี

ไม้มีความหนาแน่นสูงกว่า ไม้ปาร์ติเกิ้ล ผิวละเอียดเรียบเนียนสม่ำเสมอทั่วตลอดทั้งแผ่นมีความแข็งแรงมากกว่า สามารถรับน้ำหนักได้มากกว่า ไม้ปาร์ติเกิ้ล สามารถนำมาพ่นสีได้เนียนและสวยงาม และทนน้ำได้ดีกว่าไม้ปาร์ติเกิ้ล

ข้อเสีย

มีราคาที่สูงกว่าและมีน้ำหนักมากกว่าไม้ปาร์ติเกิ้ล เนื่องจากเนื้อไม้มีความหนาแน่นมากกว่า ไม่ทนต่อความชื้น


 



ไม้ HMR ใช้ในงานบิ้วอิน
ไม้ HMR

3.   ไม้ HMR

(นิยมที่สุด ในปัจจุบัน)

HMR เป็นไม้ MDF ผสมสารทนความชื้นโดยการนำชิ้นไม้ยูคาลิปตัสมาสับและบดจนเป็นเส้นใยละเอียด และนำมาอัดประสานด้วยกาวชนิดพิเศษจึงสามารถช่วยเพิ่มแรงทนต่อการขยายตัวและการบิดโก่ง สามารถทนต่อความชื้นได้เป็นอย่างดี และมีความนิยมมากในปัจจุบัน

คุณสมบัติ

สามารถใช้ในพื้นที่ที่มีความชื้นสูงได้ เช่น บริเวณห้องครัว หรือห้องน้ำ ตู้ใต้อ่างล้างหน้า ไม้ HMR มีราคาประหยัดกว่าไม้อัดทั่วไป มีความแข็งแรงทนทานไม่บิดงอง่าย และสามารถรับน้ำหนักได้ดี


ข้อดี

ใช้ในพื้นที่ที่มีความชื้นสูงได้, มีความแข็งแรงทนทานไม่บิดงอง่าย, รับน้ำหนักได้ดี, พื้นผิวยังมีความเรียบและสม่ำเสมอมากกว่าไม้อัด สามารถนำมาพ่นสีได้เรียบเนียนและสวยงาม สามารถเซาะร่องเป็นลวดลายได้ตามที่ต้องการเนื้อไม้จะไม่ยุ่ยหรือเป็นขุย และราคาประหยัดกว่าไม้อัด ปลวกไม่กิน


ข้อเสีย

มีราคาที่สูงกว่าและมีน้ำหนักมากกว่าไม้ปาร์ติเกิ้ล เนื่องจากเนื้อไม้มีความหนาแน่นมากกว่า



 


ไม้โครง ใช้ในงานบิ้วอิน
ไม้โครง

4.  โครงไม้จริง + กรุไม้อัด

ไม้โครง+กรุไม้อัด โครงบิ้วอินเป็นโครงไม้จริงชนิดต่าง เช่น ไม้สัก ไม้สะเดา ไม้ยางพารา ไม้ทุเรียน ฯลฯ นำมาใช้เป็นโครงสร้างหลักของเฟอร์นิเจอร์ โดยนำไม้อัดมาประกบและปิดผิว พ่นสี หรือ ย้อมสีไม้ธรรมชาติก็ได้ มีความแข็งแรงสูงมีความแน่นในการขันสกรู กว่าไม้ชนิดอื่นๆ และสามารถทนต่อความชื้นได้เป็นอย่างดี


ไม้อัด ใช้ในงานบิ้วอิน
ไม้อัด

คุณสมบัติ

ไม้โครงอยู่มีด้วยกันหลายชนิดขายเป็นมัด ในขั้นตอนการผลิตจะมีการอบน้ำยากันปลวก ในการเลือกใช้ไม้โครงสามารถเลือกได้จากชนิดและคุณสมบัติของไม้นั้นๆเป็นหลัก เช่นหากต้องการไม้ที่ปลวกไม่กินก็ให้เลือกเป็น ไม้สักเนื้อ หรือ ไม้สักจ๊อย และยังมีไม้โครงอีกหลายชนิดที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน เช่น ไม้สัก ไม้สะเดา ไม้ยางพารา ไม้ทุเรียน ไม้ตะแบก ไม้สยา ไม้เบญจพรรณ ฯลฯ ถึงแม้ขั้นตอนการผลิตจะมีการอบน้ำยากันปลวกมาแล้ว แต่ช่างเฟอร์นิเจอร์มักจะทาน้ำยากันปลวกที่ไม้โครงอีกรอบนึงก่อนใช้งาน


ข้อดี

สามารถนำมาใช้งานทำเฟอร์นิเจอร์ได้หลากหลาย, มีความแข็งแรงสูงอยู่คงทนยาวนาน มีความแน่นในการขันสกรู, มีน้ำหนักเบา, สามารถเลือกใช้ได้ตามคุณสมบัติของงาน, สามารถทนต่อความชื้นได้เป็นอย่างดี


ข้อเสีย

โครงไม้บางชนิดอาจมีการบิดตัว, ไม้บางชนิดมีราคาค่อนข้างสูง เช่น ไม้สัก, ต้องศึกษาให้ละเอียดก่อนเลือกใช้หรือปรึกษามัณฑนากรก่อนเลือกใช้



 


ไม้จริง ใช้ในงานบิ้วอิน
ไม้จริง (SOLID WOOD)

5.  ไม้จริง

เฟอร์นิเจอร์บิ้วอินที่ทำจากไม้จริง ( Solid wood ) เป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตขึ้นจากไม้ที่แปรรูปจากต้นไม้ แล้วนำมาประกอบขึ้นเป็นเฟอร์นิเจอร์ มีความสวยงามเป็นธรรมชาติมีความแข็งแรงอยู่คงทนยาวนาน สามารถรับน้ำหนักได้ดี ซึ่งงานไม้จริงสามารถเลือกไม้ได้ตามลักษณะการใช้งานและความชอบของเจ้าของงาน มีไม้ให้เลือกหลากหลายชนิด เช่น ไม้สัก ไม้โอ๊ค ไม้แอช ไม้ประดู่ ฯลฯ ไม้บางชนิดมีราคาค่อนข้างสูง


ข้อดี

เฟอร์นิเจอร์บิ้วอินที่ทำจากไม้จริง มีความแข็งแรงสูงอยู่คงทนยาวนาน, มีความสวยงามอย่างเป็นธรรมชาติ, สามารถไสตกแต่งได้,  สามารถเลือกไม้ได้ตามลักษณะการใช้งานและความชอบ


ข้อเสีย

ไม้บางชนิดอาจมีปัญหาเรื่องปลวก และ แมลงไม้, ไม้มีโอกาสบิดตัวหรือโก่งได้ตามสภาพอากาศ ,  ไม้บางชนิดมีราคาค่อนข้างสูง

 

จากชนิดของไม้ที่ใช้ในงานตกแต่งภายใน งานบิ้วอิน ข้างต้น ทำให้เราสามารถที่จะประเมินได้ถึงความต้องการในเลือกใช้ไม้ชนิดต่างๆ ที่เหมาะสมกับลักษณะงาน หรือ ความชอบ แต่หากยังไม่มั่นใจในการตัดสินใจเลือกใช้สามารถปรึกษากับมัณฑนากร หรือบริษัทตกแต่งภายในที่เราเลือกใช้ได้



POSH INTERIOR ให้คำปรึกษาและบริการ ออกแบบตกแต่งภายใน
ดู 689 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Comments


bottom of page